L'imperatif L'impératif

    การใช้ (emploi) :

        - ขอร้อง [une prière] : Excusez-moi (โปรดยกโทษให้ฉันด้วย = ขอโทษ)

        - สั่ง [un ordre] : Viens ici ! (มานี่)

        - ห้าม [une défense] (อยู่ในรูปปฎิเสธเท่านั้น) : Ne jouez pas dans la rue (อย่าเล่นในถนน)

        - แนะนำ [un conseil] : Soyez prudent ! (จงระมัดระวัง)

     รูปแบบ (fomes) : impératif คือคำกริยาที่ผันอยู่ในกาลปัจจุบัน (présent) โดยไม่มีสรรพนามประธาน (pronom sujet)

         โดยทั่วไปจะใช้กับ บุรุษที่ 2 เอกพจน์ (Tu), บุรุษที่ 2 พหูพจน์ (Vous) และ บุรุษที่ 1 พหูพจน์ (Nous) :

                                  Tu regardes                                        Regarde !

                                  Vous faites attention                          Faites attention !

                                  Nous partons                                      Partons !

    สำหรับ verbe "être" และ "avoir" มีรูป impératif ที่มาจากรูป subjonctif :
        
être
 
avoir
Sois gentil ! Aie de la gentillesse !
Soyez heureux ! Ayez confiance en moi !
Soyons à l' heure ! Ayons de la patience

    สำหรับ verbe "vouloir" และ "savoir" ก็มีรูป impératif ที่แผลงมาจากรูป subjonctif :

vouloir
 
savoir
-
Sache que je ne suis pas disponible !
-
Sachons qu'il est difficile !
Veuillez attendre un instant ! Sachez la vérité !

   [ subjonctif de vouloir : que tu veuilles, que nous voulions, que vous vouliez]

   [ subjonctif de savoir : que tu saches, que nous sachions, que vous sachiez]

จะไม่มี "s" เมื่อใช้กับบุรุษที่ 2 เอกพจน์ สำหรับกริยากลุ่มที่ 1 , กริยากลุ่มที่ 3

ที่ผันเหมือนกลุ่มที่ 1 : [ouvrir : Tu ouvres Ouvre / couvrir : Tu couvres Couvre /

offrir : Tu offres Offre / Cueillir : Tu cueilles Cueille ....

รวมทั้งกริยา "aller" : Tu vas Va ]

แต่ถ้ารูปคำสั่งเหล่านี้อยู่หน้า สรรพนาม "en" และ "y" จะต้องมี "s" ดังเดิม :

(ด้วยเหตุผลในเรื่องการออกเสียง) :

                          - Vas-y !

                          - Manges-en !

     ประโยคคำสั่งปฎิเสธ กริยาีรูป impératif จะอยู่ระหว่าง "ne.............pas" :

         - Ne rentre pas tard !

         - Ne commençons pas sans elle !

         - N' ayez pas peur ! 

     ประโยคคำสั่งของกริยา pronominal จะต้องมีสรรพนามประกอบด้วยเสมอ :

       - Dépêche-toi !

       - Ne vous inquiétez pas !

       - Amusons-nous !                                        [คลิ๊ก..เพื่อดูเพิ่มเติมเรื่อง verbes pronominaux]

     คำสรรพนาม (pronom complément) ในประโยคคำสั่งจะเปลี่ยนตำแหน่งและรูป :  

         * ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังกริยา และ "me" กับ "te" จะเปลี่ยนเป็น "moi" และ "toi" :

             - Faites-le !

             - Attends-moi !

             - Assieds-toi !

         สังเกต ! จะมีเครื่องหมาย ยัติภังค์ (trait d' union) ระหว่างกริยากับสรรพนามในประโยคคำสั่งบอกเล่า

         * ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามจะอยู่หน้ากริยา และ "me" กับ "te" จะไม่เปลี่ยนรูป

            - Ne te fâche pas !

            - N' y allons pas !

            - Ne m' en veuillez pas !                              [คลิ๊ก..เพื่อดูเพิ่มเติมเรื่อง ตำแหน่งคำสรรพนาม]

     นอกจากจะใช้สั่งกับ "tu", "vous" และ "nous" แล้ว เรายังสามารถสั่ง(ordre)กับบุรุษที่ 3 หรือแสดงความปรารถนา

         (souhait) ได้อีกด้วย โดยกริยาจะอยู่ในรูป subjonctif และนำหน้าด้วย "Que"

         - Qu' il vienne me voir tout de suite ! (ให้เขามาหาฉันเดี๋ยวนี้) [คำสั่ง]

         - Qu' elle soit heureuse ! (ขอให้หล่อนมีความสุข) [ความปรารถนา]

         - Que Dieu te protège ! (ขอให้พระเจ้าคุ้มครองเธอ) [ความปรารถนา]

Exercice 1 Exercice 2