Le présent
การใช้
:
1. แสดงเหุตการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด (action en cours)
- Qu' est-ce que tu fais ? (เธอกำลังทำอะไร)
+ Je mange. (ฉันกำลังกิน)
2. บรรยายลักษณะหรือสถานการณ์ (description, situation)
- La famille Ducray habite Charlieu. Le mari est employé dans une banque, la femme est secrétaire dans
une entreprise. Ils ont deux enfants. (ครอบครัวดูเครย์อาศัยอยู่ที่เมืองชาร์ลิเออ
สามีเป็นพนักงานในธนาคารแห่งหนึ่ง
ภรรยาเป็นเลขาฯในบริษัทแห่งหนึ่ง
เขามีลูกสองคน)
3. บอกสิ่งที่กระทำเป็นประจำ, ความเคยชิน(นิสัย), ขนบธรรมเนียม
- Je me lève toujours tôt. (ฉันลุกขึ้นแต่เช้าเป็นประจำ)
-
En France, quand on se rencontre ou se quitte, on se serre la main ou on s'embrasse.
(ในฝรั่งเศส
เมื่อผู้คนพบกันหรือจากกัน
เขาจะจับมือกัน หรือไม่ก็สวมกอดกัน (แก้มแนบแก้ม))
4. บรรยายสภาพความเป็นจริงโดยทั่วไป
-
En France, il fait froid en décembre, en janvier, et en février.
(ในฝรั่งเศส อากาศหนาว
ในเืดือนธันวาคม
มกราคม และ กุมภาพันธ์)
- Le soleil se lève à l'est et se couche à l'ouest. (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก)
5. บอกเหตุการที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้
- Dépêche-toi ! La poste ferme dans 10 minutes. (รีบเร็วเข้า ที่ทำการไปรณีย์ปิดในอีก10นาทีข้างหน้า)
- Tu viens demain ? (พรุ่งนี้เธอมาหรือเปล่า)
สำนวน
" être en train de " + infinitif (=
กำลัง) ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ :
- Elle est en train d' étudier. Ne la dérange pas. (หล่อนกำลังเรียนอยู่ อย่ารบกวนหล่อนเลย)
- Les enfants sont en train de jouer au football. (เด็กๆกำลังเล่นฟุตบอลล์)
รูปแบบ
(formes) ของคำกริยากลุ่มต่างๆในกาลปัจจุบัน
: [คลิ๊กที่นี่เพื่อดูเพิ่มเติมเรื่อง
คำกริยากลุ่มต่างๆ]
1er groupe parler |
2e groupe finir |
3e groupe mettre |
3e groupe attendre |
3e groupe vouloir |
3e groupe ouvrir |
|
Je | parle | finis | mets | attends | veux | ouvre |
Tu | parles | finis | mets | attends | veux | ouvres |
Il / Elle | parle | finit | met | attend | veut | ouvre |
Nous | parlons | finissons | mettons | attendons | voulons | ouvrons |
Vous | parlez | finissez | mettez | attendez | voulez | ouvrez |
Ils / Elles | parlent | finissent | mettent | attendent | veulent | ouvrent |
คำกริยากลุ่มที่
3 เป็นกลุ่มที่มีรูปแบบการผันและลงท้ายที่หลากหลาย ไม่คงที่ (Verbes
irréguliers)
ซึ่งแตกต่างจากคำกริยากลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ที่มีรูปแบบการผันและลงท้ายที่คงที่ (verbes réguliers)